Experts' Comments & Mine

These commentaries are worth reading because of their authors' fine reputation, integrity, and patriotism.

Friday, September 29, 2006

 

Thailand's Turning Point by Wuttipong Priebjariyawat, Ph.D.

จุดเปลี่ยนประเทศไทย
โดย ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
29 กันยายน 2549 14:16 น.

การปฏิวัติรัฐประหารในค่ำคืนของวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 ทำให้ชีวิตทางการเมืองของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร จบแล้วหรือยัง? เป็นคำถามท้าทายความอยากรู้และชวนให้หาคำตอบ แต่ทว่าเป็นคำถามที่หลงประเด็นและเสียเวลาเปล่า ที่ว่าหลงประเด็น ก็เพราะให้ความสำคัญกับชีวิตของคุณทักษิณมากมายจนเกินเหตุ ชีวิตของคุณทักษิณไม่ได้สำคัญขนาดนั้น ชีวิตของประเทศต่างหากที่สำคัญ คำถามที่ควรถามมากที่สุดขณะนี้ก็คือ ต่อจากนี้ประเทศไทยจะก้าวเดินไปในทิศทางไหนและอย่างไร? และที่ว่าเสียเวลาเปล่าก็เพราะว่า หากเราสามารถตอบคำถามหลังได้อย่างชัดเจนถูกต้องแล้ว คำถามแรกก็จะถูกตอบไปพร้อมกันโดยปริยาย

ไม่ว่าใครจะเห็นด้วยกับการใช้กำลังทหารเข้าทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้หรือไม่ก็ตาม แต่ก็ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้

(1) ได้มาด้วยราคาแสนแพง เพราะนอกจากพี่น้องทหารหาญต้องเอาตำแหน่งหน้าที่การงาน ตลอดจนชีวิตของตัวเองเข้าเสี่ยงแล้ว พี่น้องประชาชนยังต้องออกมารอนแรมนอนกลางดินกินกลางทราย ตั้งแต่บริเวณท้องสนามหลวงยันหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อประท้วงต่อสู้มาแรมปี

(2) เกิดในช่วงเวลาพิเศษที่เป็นมหามงคล เพราะปี 2549 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และปี 2550 เป็นปีที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา

(3) มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศชาติ ถ้าเลือกสับรางได้ถูกทางก็จะนำประเทศไปสู่ความวัฒนาสถาพรนับอีกสิบๆ ปี แต่ถ้าเลือกพลาดก็เสียหายมากมายครือกัน

(4) เป็นโอกาสที่หายากยิ่ง เพราะเป็นช่วงปลอดจากการเมืองปกติ ทำให้สามารถทำสิ่งที่ดีพิเศษให้กับชาติบ้านเมือง ที่ทำไม่ได้ในช่วงรัฐบาลภายใต้พรรคการเมือง หากปล่อยให้ผ่านไปก็อาจจะไม่มีโอกาสเช่นนี้อีก

(5) เสร็จแค่ครึ่งเดียว เพราะแม้จะสามารถล้มอำนาจอดีตนายกทักษิณลงได้ แต่ยังไม่ได้ขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณซึ่งได้แผ่ซ่านในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง และยังไม่ได้วางรากฐานให้ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่ดีกว่าได้วางหลักปักฐานในสังคมไทย และ

(6) ครึ่งหลังยากกว่าครึ่งแรก

จากการจัดเสวนาประชาชนกว่า 20 ครั้งในช่วงเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา สถาบันสหสวรรษได้รวบรวมและเรียบเรียงความคิดเห็น จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายหลากและผู้เข้าร่วมเสวนาจำนวนมากมาย ซึ่งพอสรุปเป็นภารกิจสำคัญของประเทศชาติในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ได้ 6 ภารกิจ โดยมีเค้าโครงพอสังเขปดังต่อไปนี้

1. ปฏิรูปการเมือง

1.1 ร่างรัฐธรรมนูญ
1.2 ทำองค์กรอิสระให้อิสระ
1.3 สนับสนุนการเมืองภาคประชาชน
1.4 ปลดแอกพรรคการเมืองจากนายทุน

2. ปรับแนวทางเศรษฐกิจ

2.1 ทวงสมบัติสาธารณะคืนประชาชน
2.2 ทบทวนกฎหมายการค้าเสรี
2.3 ปรับแก้โครงการประชานิยม
2.4 สร้างชุมชนพึ่งตนเอง

3. ดับไฟใต้

4. เช็คบิลคอร์รัปชั่น

5. ปฏิรูปสื่อ

6. เสนอแนวทางปฏิรูประบบอื่นๆ

ทั้งนี้ หากนับจากวันที่ล้มรัฐบาลทักษิณในเดือนกันยายน 2549 ไปจนถึงวันเลือกตั้ง ซึ่งสมมติว่าตกประมาณกลางหรือปลายเดือนธันวาคม 2550 หลังจากวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว รัฐบาลเฉพาะกาลก็จะมีเวลาทั้งสิ้นประมาณ 15 เดือน เพื่อปฏิบัติภารกิจข้างต้นให้สำเร็จลุล่วง ขณะที่ช่องไฟทางการเมืองนี้ยังเปิดอยู่ ยกเว้นแต่ภารกิจประการสุดท้ายซึ่งเป็นเรื่องระยะกลางถึงยาวและต่อเนื่องนั้น คงทำได้เพียงจัดทำข้อเสนอ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับพรรคการเมืองต่างๆ หรือรัฐบาลหลังการเลือกตั้งจะพิจารณานำเอาไปใช้

1. ปฏิรูปการเมือง

การปฏิรูปการเมือง คือข้อเรียกร้องที่ดังและชัดที่สุดในระหว่างการต่อสู้เพื่อล้มระบอบทักษิณ ปัญหาของบ้านเมืองไม่ว่าปัญหาใด เมื่อสาวย้อนกลับไปก็มักจะพบว่าล้วนเกิดจากการเมืองแทบทั้งสิ้น การแกะปมปลดล็อคปัญหาการเมืองนั้นไม่ง่าย เพราะมีความสลับซับซ้อนทั้งในด้านเนื้อหาสาระและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ภารกิจปฏิรูปการเมืองนี้ประกอบไปด้วย งานที่เกี่ยวข้องมากมายกว้างขวาง แต่จะเสนอเพียง 4 งานสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับตารางเวลาอันจำกัดของรัฐบาลเฉพาะกาล อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะชี้แจงขยายความเกี่ยวกับงานทั้งสี่ จะขอกล่าวถึงแนวคิดและที่มาที่ไปของข้อเสนอดังกล่าวเสียก่อนรวม 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้

(1) โจทย์สำหรับการร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้ต่างจากคราวที่แล้วโดยสิ้นเชิง ปัญหาการเมืองที่อยู่ในใจของประชาชนในเวลานั้นคือ เรื่องเผด็จการทหารและเสถียรภาพของรัฐบาล ดังนั้น จึงมุ่งเน้นสร้างเสถียรภาพให้รัฐบาล จนทำให้เกิดปัญหาและกลายเป็นวิกฤติทางการเมืองในที่สุด

ทว่าปัญหาหลักในวันนี้คือการทับซ้อนของอำนาจรัฐและอำนาจทุน การเมืองไทยในปัจจุบันอยู่ในอุ้งมือของกลุ่มเศรษฐีนักการเมือง ที่ด้านหนึ่งมีผลประโยชน์ทางธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็เข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ จึงสามารถเอาผลประโยชน์ของรัฐ ไปแจกจ่ายให้ธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้องได้อย่างสะดวกง่ายดาย ทั้งในรูปของสัมปทาน อำนาจผูกขาด และสิทธิพิเศษต่างๆ ซึ่งอาจเรียกรวมๆ กันได้ว่าเป็นเรื่อง “ผลประโยชน์ทับซ้อน” หรือ “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย”

(2) ปัญหาของประชาธิปไตยไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ รัฐบาล รัฐสภา หรือองค์กรอิสระ แต่เกิดจากความอ่อนแอของการเมืองภาคประชาชน ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 จะได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เกิดมรรคเกิดผลจริงจัง เพราะการเมืองภาคประชาชนยังเตาะแตะตั้งไข่อยู่ ความจริงการสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองของประชาชนก็หนีไม่พ้นการลงทุนลงแรงของประชาชนเอง แต่การสนับสนุนจากรัฐบาลจะช่วยผ่อนแรงและร่นระยะเวลาของการพัฒนาการเมืองภาคประชาชนได้อย่างเห็นทันตา

(2) หัวใจของระบอบประชาธิปไตยมิได้อยู่ที่ลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูก แต่ทว่าสะท้อนออกมาในรูปของวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนคนไทยทุกผู้ทุกนาม พฤติกรรมและวุฒิภาวะทางการเมืองของคนไทยนี้เอง คือเป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาทางการเมือง มากกว่าการมีรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นอย่างโก้หรู นี่แหละคือแก่นแท้ของความเป็นประชาธิปไตยของชาติ

ภารกิจแรกนี้สามารถแยกแยะตามแนวคิดข้างต้นได้เป็น 4 งานด้วยกันโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.1 ร่างรัฐธรรมนูญ

ในทางปฏิบัติการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้คงจะเริ่มด้วยการเอาฉบับเดิมเป็นแบบ แล้วค่อยแก้ไขปรับเปลี่ยนในประเด็นที่ก่อปัญหาทางการเมืองที่ผ่านมา เนื้อหาสาระที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขนั้นมีมากมายหลายหลาก แต่ในเนื้อที่จำกัดนี้ขอเสนอเพียง 6 ประเด็นดังนี้

(1) รัฐธรรมนูญควรสั้นและมีจำนวนมาตราน้อย ส่วนรายละเอียดควรเอาไปขยายความในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือที่เรียกว่า “กฎหมายลูก”

(2) รัฐบาลเฉพาะกาลซึ่งเป็นคนกลางควรเป็นผู้ร่างกฎหมายลูกเสียเอง ไม่ปล่อยให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งที่มาจากพรรคการเมืองเอาไปร่าง เพราะจะเกิดปัญหาตามมาเหมือนครั้งที่แล้ว

(3) การลงคะแนนเลือกตั้งควรเป็นสิทธิไม่ใช่หน้าที่

(4) ไม่ควรบังคับให้ สส. เขต ต้องสังกัดพรรคและไม่ควรจำกัดสิทธิผู้ไม่จบปริญญาตรีไม่ให้ลงสมัคร สส.

(5) ลดจำนวนรวมของ สส. ลง พร้อมปรับเพิ่มสัดส่วน สส. บัญชีรายชื่อ

(6) ให้กระทรวงหนึ่งมีรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเพื่อลดขนาดของ ครม. ส่วนผู้ช่วยรัฐมนตรีนั้นให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงแต่งตั้งและรับผิดชอบเอง

1.2 ทำองค์กรอิสระให้อิสระ

เนื่องจากถูกแทรกแซงอย่างหนักโดยรัฐบาล องค์กรอิสระจึงได้กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ชำรุดและบ่อยครั้งถูกใช้เป็นอาวุธไว้ปราบศัตรูทางการเมืองของรัฐบาล จึงควรแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ ในช่วงรัฐบาลเฉพาะกาลนี้ เพราะที่ผ่านมากฎหมายลูกเหล่านี้ถูกร่างโดยนักการเมืองเป็นหลัก

นอกจากนั้น ควรรื้อกระบวนการสรรหากรรมการขององค์กรอิสระ กลับมานิยามบทบาทหน้าที่ของบางองค์กรเสียใหม่ หรืออาจต้องยุบเลิกบางองค์กร ตัวอย่างเช่น เสนอให้เปลี่ยนวิธีการได้มาของวุฒิสมาชิก หรือให้ยุบเลิกวุฒิสภาไปเลย บ้างเสนอให้จำกัดบทบาทของ กกต. โดยให้บริหารการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว การตัดสินความถูกผิดของผู้สมัครควรยกไปเป็นอำนาจของศาล เป็นต้น

1.3 สนับสนุนการเมืองภาคประชาชน

จริงอยู่ที่การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้ต้องอาศัยน้ำพักน้ำแรงของประชาชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องไม่ทำตัวเป็นอุปสรรคเสียเอง พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนในเรื่องต่อไปนี้

(1) ปรับปรุงกระบวนการทำประชาพิจารณ์ ประชามติ ตลอดจนกระบวนการเสนอกฎหมายโดยประชาชน 50,000 ชื่อ ให้สะดวกสำหรับประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) ผลักดันให้ พรบ. ข้อมูลข่าวสาร เกิดผลจริงในทางปฏิบัติ

(3) แก้ไขกฎหมายจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนให้เป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และอนุญาตให้จัดตั้งองค์กรที่ดำเนินการด้านการเมืองภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับเหตุบ้านการเมืองและนโยบายสาธารณะ

(4) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและโยกย้ายผู้บริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อป้องกันมิให้รัฐบาลหรือนักการเมืองเอาตำรวจมารังแกประชาชน ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองตามสิทธิและเสรีภาพแห่งรัฐธรรมนูญ

1.4 ปลดแอกพรรคการเมืองจากนายทุน

คอร์รัปชั่นไม่ว่ารูปแบบใดล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการอุปถัมภ์ทางการเงินโดยนายทุนพรรค ซึ่งมักเป็นนักธุรกิจใหญ่ที่ทำมาหากินกับธุรกิจที่แอบอิงอำนาจรัฐ จึงเกิดการลงทุนถอนทุนทางการเมืองกันอย่างเป็นระบบ

หากต้องการทำลายระบบธนกิจการเมืองนี้ รัฐบาลเฉพาะกาลควรออกกฎหมายอนุญาตให้ผู้เสียภาษีอากรมีสิทธิเอาเงินภาษีของเขาส่วนหนึ่ง (เช่น 1% ของยอดภาษีแต่ไม่เกินคนละ 500 บาท เป็นต้น) บริจาคโดยตรงแก่พรรคการเมืองใดก็ได้ตามความประสงค์ของเขา วิธีนี้จะช่วยให้พรรคการเมืองทั้งระบบได้รับเงินสนับสนุนนับพันล้านโดยตรงจากผู้เสียภาษีอากร แทนที่จะต้องไปขอพึ่งจากนายทุนพรรค แล้วกลายเป็นหนี้บุญคุณกันภายหลัง วิธีนี้จะพลิกโฉมวิถีทางการเมืองโดยสิ้นเชิง แทนที่นักการเมืองจะต้องจ่ายประชาชนเพื่อให้เลือกตน กลับกลายเป็นประชาชนเป็นผู้จ่ายเงินให้นักการเมืองที่ตนเห็นว่าดีให้มารับใช้บ้านเมือง วิธีนี้จะช่วยให้พรรคการเมืองใหม่ๆ ที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีคุณงามความดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม สามารถแจ้งเกิดทางการเมืองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความเมตตาจากนายทุนพรรคอีกต่อไป

2. ปรับแนวทางเศรษฐกิจ

หัวข้อนี้ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางไม่น้อยกว่าเรื่องปฏิรูปการเมือง แต่เพื่อให้สามารถจัดการให้เกิดมรรคผลได้ภายในกรอบเวลาอันจำกัดของรัฐบาลเฉพาะกาล จึงเสนอเฉพาะงานสำคัญเร่งด่วนเพียง 4 งานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะชี้แจงรายละเอียดของแต่ละงาน จะขอกล่าวถึงแนวความคิดที่เป็นรากฐานของข้อเสนอดังกล่าวทั้งหมด 3 ประเด็น ดังนี้

(1) การปฏิเสธแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลักโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบทุนนิยม กลไกตลาด การค้าเสรี และกระแสโลกาภิวัตน์ นั้นเป็นไปไม่ได้ และถึงแม้จะทำได้ก็ไม่เป็นคุณอยู่ดี ทว่าในทางตรงกันข้าม การรับระบบทุนเสรีอย่างอ้าซ่าโดยไม่ลืมหูลืมตาก็เป็นโทษไม่แพ้กัน ดังได้ประสบแล้วในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ดังนั้น โจทย์ของประเทศจึงไม่ใช่การเลือกจากสองแนวทางที่สุดโต่ง แต่เป็นการประสมประสานระหว่างแนวทางทั้งสองอย่างเลือกเฟ้น ซึ่งจะขอเรียกแนวคิดเช่นนี้ว่า “แนวโลกาภิวัตน์แบบกลั่นกรอง” หรือ “filtered globalization” ในภาษาอังกฤษ

(2) ให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ อี เอฟ
ชูเมคเกอร์ (E.F. Schumacher) นักเศรษฐศาสตร์ชื่อกระฉ่อนโลก แนวคิดนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคภัยทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติได้เป็นอย่างดี เพราะเน้นการดูแลทุกข์สุขตามอัตภาพของประชาชนและความสงบสุขของสังคมมากกว่าดุลการค้าหรือดัชนีตลาดหุ้น

(3) ปัญหาหลักของเศรษฐกิจไทยขณะนี้ เกิดจากการทับซ้อนของอำนาจรัฐและอำนาจทุนดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปฏิรูปการเมือง จนทำให้อำนาจรัฐถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของนักการเมืองในการขูดรีดประชาชนโดยทั่วไป

กรอบแนวคิดข้างต้นได้สะท้อนออกมาเป็นข้อเสนอสำหรับรัฐบาลเฉพาะกาลภายใต้หัวข้อนี้ 4 งานหลักด้วยกัน ดังต่อไปนี้

2.1 เอาสมบัติสาธารณะคืนประชาชน

เนื่องจากสมบัติสาธารณะของประเทศชาติจำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปสัมปทานหรือสิทธิพิเศษ ได้ถูกนักการเมืองนำมาแจกจ่ายให้กับธุรกิจของตนและพวกพ้อง ข้อเสนอนี้ก็ชัดเจนตรงไปตรงมา กล่าวคือ นำเอาสัมปทานและสิทธิพิเศษดังกล่าว กลับมาทบทวนซึ่งอาจนำไปสู่การเจรจาตกลงเงื่อนไขใหม่ หรืออาจถึงการยึดกลับมาเพื่อใช้เป็นบริการประชาชน

สมบัติสาธารณะนี้ครอบคลุมตั้งแต่ ช่องสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ความถี่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่โครงข่ายโทรศัพท์และอินเตอร์เนต ทางด่วน ขนส่งมวลชน สนามบิน ท่าเรือ วงโคจรดาวเทียม เส้นทางการบิน ประปา รวมถึงโครงข่ายระบบไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลทักษิณพยายามจะขายทอดตลาดแต่ไม่สำเร็จ ตลอดจน ปตท. ที่ได้ขายเป็นหุ้นเข้าไปในตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว และได้กลายเป็นปมขัดแย้งทางการเมืองที่บาดลึกระหว่างประชาชนและรัฐบาลทักษิณ

2.2 ทบทวนกฎหมายการค้าเสรี

การเปิดประเทศแบบไม่ยั้งมือของรัฐบาลทักษิณด้วยการเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรี (FTA) กับต่างประเทศอย่างเงียบเชียบและน่าสงสัย น่าจะถูกสอบทานอีกครั้งถึงความถูกต้อง ทั้งในเชิงเนื้อหาสาระ กระบวนการ และอำนาจของผู้ลงนาม ส่วนกฎหมายเขตการปกครองพิเศษที่จะนำมาใช้กับที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ ก็น่าจะถูกยกเลิกหรือทบทวนเช่นกัน

นอกจากนั้น กฎหมาย 11 ฉบับที่ประชาชนมักเรียกกันจนติดปากว่า “กฎหมายขายชาติ” ซึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ออกไว้ในช่วงปี 2540-2543 และพรรคไทยรักไทยได้เคยสัญญาว่าจะยกเลิกเมื่อได้เป็นรัฐบาล ก็ควรที่จะได้รับการทบทวนเช่นเดียวกันด้วย

2.3 ทบทวนโครงการประชานิยม

หากศึกษาโครงการประชานิยมของรัฐบาลทักษิณอย่างถ่องแท้จะเห็นว่า ส่วนมากเป็นโครงการหาเสียง มิได้เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งตามความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ประชานิยม” แต่ทว่าเอาประชาชนมาเป็นเครื่องมือและอาวุธสำหรับต่อสู้ทางการเมือง โครงการประชานิยมหลายโครงการ ตัวอย่างเช่น กองทุนหมู่บ้าน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนชนบท (SML) ควรได้รับการแก้ไข โดยนำงบประมาณและทรัพยากรมาใช้ในแนวทางใหม่ ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในลักษณะที่ยั่งยืน โดยอาจนำไปรวมกับแนวทางที่จะเสนอในหัวข้อเรื่อง “การสร้างชุมชนพึ่งตนเอง” ต่อไป

2.4 สร้างชุมชนพึ่งตนเอง

ข้อเสนอภายใต้หัวข้อนี้ เป็นการนำแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ใช้ในระดับชุมชนขนาดใหญ่ เพราะเชื่อว่าจะสามารถสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กับสังคมไทย และเป็นทางเลือกใหม่ของสังคมชนบทไทย ทำให้เราสามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพายึดติดกับเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์แบบไม่มีทางเลือก ทั้งยังเป็นคำตอบระยะยาวในการแก้ไขปัญหาความยากจนของคนไทยได้อย่างแท้จริงและถาวรอีกด้วย

วิธีการสร้างชุมชนพึ่งตนเองนี้จะเริ่มด้วยการเอาพื้นที่ป่าเศรษฐกิจขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และป่าเสื่อมโทรมที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้ มาจัดแบ่งออกเป็นชิ้นขนาดเขื่องๆ ชิ้นละประมาณ 10,000 ไร่ สำหรับนำมาพัฒนาและบริหารเพื่อเลี้ยงดูคนไทยประมาณ 600 ครอบครัว

ในขั้นแรก นำที่ 10,000 ไร่นี้ มาแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยนำเอาเนื้อที่ประมาณ 3,000-4,000 ไร่ มาปลูกให้เป็นป่าถาวรเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ ส่วนอีก 3,000-4,000 ไร่ ก็นำมาใช้เป็นป่าเศรษฐกิจด้วยการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อให้ได้เยื่อไม้และท่อนไม้สำหรับขาย และใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงหาอาหาร

สำหรับพื้นที่ส่วนที่เหลือจากข้างต้น นอกจากจะจัดสรรสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนประมาณ 400-500 ไร่แล้ว ก็อาจจะนำอีก 800-1,000 ไร่ มาใช้สำหรับปลูกพืชผักผลไม้ไว้เป็นอาหารเลี้ยงชุมชน อีกสัก 400-500 ไร่ ไว้สำหรับเลี้ยงหมูเห็ดเป็ดไก่และปศุสัตว์เพื่อเป็นอาหารอีกเช่นกัน พร้อมทั้งเว้นที่ไว้ 500-1,000 ไร่ สำหรับเป็นบึงใหญ่เพื่อเก็บน้ำไว้บริโภค เลี้ยงสัตว์ และรดน้ำผัก อีกทั้งเป็นที่เลี้ยงกุ้งหอยปูปลาเพื่อเลี้ยงดูชาวชุมชน หากต้องการแต่งเติมสีสันและเพิ่มชีวิตชีวาให้กับชุมชนนี้ ก็อาจเก็บที่ริมบึงใหญ่สัก 50-100 ไร่ ไว้สร้างรีสอร์ทสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ เพื่อเป็นการหารายได้เสริมให้กับชุมชน

ผลลัพธ์ก็คือ เราสามารถใช้ที่ดินประมาณ 10,000 ไร่ดูแลคนไทยราว 600 ครอบครัวให้อิ่มหนำสำราญและมีความสุขตามอัตภาพได้ อีกทั้งทำให้เกิดผลดีด้านนิเวศวิทยา เพราะแทนที่จะต้องหักร้างถางพงเพื่อเลี้ยงดูประชากรของประเทศ วิธีนี้กลับจะช่วยให้ประเทศชาติได้ป่ามากขึ้น นอกจากนั้น ยังจะช่วยลดปัญหาสังคมได้อย่างจริงจัง เพราะทำให้ครอบครัวไม่ต้องบ้านแตกสาแหรกขาด เพื่อมาหาอาชีพและขายแรงงานในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ ทั้งยังจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีความมั่นคง เพราะสามารถพึ่งตนเองได้เกือบสมบูรณ์ ไม่ต้องพึ่งพาและผันผวนตามเศรษฐกิจโลกอย่างสิ้นเชิง

ในปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าที่เข้าเกณฑ์ข้างต้นประมาณ 5,000 เท่าของแปลงสมมุติ ซึ่งหมายความว่าเราสามารถใช้พื้นที่จำนวนนี้เลี้ยงดูคนไทยได้อย่างพอเพียงถึง 3 ล้านครอบครัว (5,000 x 600 = 3,000,000) หรือถึง 15 ล้านคน (คิดจาก 5 คนต่อครอบครัว) หรือเท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอข้างต้นมิได้มีเจตนาจะตัดประเทศไทยออกจากระบบสังคมและเศรษฐกิจโลกแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการเสนอให้เราเปิดระบบเศรษฐกิจทางเลือกให้กับสังคมไทย ทำให้คนไทย 1 คนในทุก 4 คนมีสิทธิ์ที่จะเลือกอยู่ในระบบเศรษฐกิจนี้ได้หากต้องการ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจให้กับสังคมไทย เมื่อถึงวันนั้น ไม่ว่ากระแสการเงินโลก การเคลื่อนไหวของเงินทุนเสรี อัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศ และดัชนีตลาดหุ้นสำคัญของโลก จะผวนผันหรือปั่นป่วนเพียงใดก็ตามที คนไทย 1 ใน 4 คนก็ยังจะสามารถดำเนินชีวิตของเขาอยู่ได้อย่างปกติสุข และอาจเป็นที่พึ่งพิงให้กับคนไทยอีก 3 คนที่เหลือในยามวิกฤตก็ได้

3. ดับไฟใต้

ปัญหาความรุนแรงในเขตสามจังหวัดภาคใต้นั้น พอสรุปได้ว่าเกิดความผิดพลาดในเชิงนโยบายจากส่วนกลางของรัฐบาลทักษิณ แม้ว่าความขัดแย้งทางความคิดและความรุนแรงนั้นมีอยู่เดิมอย่างต่อเนื่องและยาวนาน แต่การบริหารจัดการที่ผิดพลาดได้โหมกระพือไฟที่ลามเลียใกล้มอดให้ลุกโชนกลายเป็นเพลิงพิโรธกองใหญ่ จากการรวบรวมความคิดเห็นของผู้รู้หลากหลายพอสรุปแนวทางกว้างๆ ในการแก้ไขปัญหาไฟใต้ได้ดังนี้

(1) นำตัวผู้กระทำผิดไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร หรือตำรวจที่ได้กลั่นแกล้งรังแกอุ้มฆ่าประชาชนโดยผิดกฎหมายมาลงโทษ

(2) ชี้แจงอธิบายตลอดจนขอโทษต่อครอบครัวของผู้สูญเสีย ในเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ พร้อมทั้งชดเชยช่วยเหลือตามเหมาะสมของแต่ละกรณี

(3) รื้อฟื้นแนวทางการบริหารแบบ ศอ.บต. พร้อมโยกย้ายข้าราชการที่เลวร้ายเกเรออกจากพื้นที่ เปลี่ยนเอาผู้ที่ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” มาประจำการแทน

(4) เปิดโอกาสให้ชาวไทยที่นับถือศาสนามุสลิมได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารราชการ และกิจกรรมทางสังคมและการเมืองมากขึ้น

(5) รณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติของชาวไทยทั้งประเทศให้ละทิ้งความรุนแรง โดยเอาเชื้อชาติเผ่าพันธุ์หรือศาสนาของตนเป็นศูนย์กลางและที่ตั้ง และหันมาสู่แนวคิดอหิงสาที่เน้นและยอมรับความหลากหลายของสังคมมนุษย์ ทั้งในด้านชาติพันธุ์และความคิด เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

4. เช็คบิลคอร์รัปชั่น

การทุจริตคอร์รัปชั่นโดยรวมในช่วงของรัฐบาลทักษิณ มักเป็นการเอาอำนาจรัฐมาใช้เพื่อหาประโยชน์ให้กับธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้อง ขนาดของความเสียหายนั้นคงยากจะประเมินได้อย่างแม่นยำ แต่คาดว่าคงอยู่ในหลักหลายแสนล้าน จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามเอาเงินคืน พร้อมลงโทษทางกฎหมายเพื่อให้หราบจำและเป็นเยี่ยงอย่างแก่นักการเมืองอื่นในอนาคต แนวทางการจัดการในเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมามี 3 ขั้นตอนดังนี้

(1) ประกาศอายัดทรัพย์ของนักการเมืองทั้งหลายที่เกี่ยวข้องอย่างสำคัญในรัฐบาลทักษิณเป็นการชั่วคราวโดยทันที จนกว่าจะเสร็จสิ้นคดีความ

(2) ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจสัก 5-7 คน แยกต่างหากจาก ปปช. โดยนำบุคคลที่มีความสามารถเหมาะสมกับภารกิจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น คุณกล้านรงค์ จันทิก มาเป็นประธาน เพื่อดำเนินการศึกษา ติดตาม หาเบาะแส เตรียมสำนวนฟ้องร้องบุคคลเหล่านั้น

(3) ให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง และติดตามจนคดีความสิ้นสุด หรือถ่ายโอนคดีให้ ปปช. รับไปดำเนินการต่อ

5. ปฏิรูปสื่อ

โดยผิวเผินอาจดูเหมือนเป็นแค่หัวข้อเล็กๆ หัวข้อเดียวในหลายๆ ระบบที่ต้องปฏิรูป แต่เนื่องจากสื่อมีหลากหลายแง่มุม หลายมิติ หลายวัตถุประสงค์ ตั้งแต่การค้า โฆษณา ข่าวสาร บันเทิง และบริการประชาชน การปฏิรูปสื่อจึงเข้าไปเกี่ยวข้องและโยงใยไปกับการปฏิรูปอื่นๆ อย่างแทบไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิรูปการเมือง การศึกษา จริยธรรม หรือเศรษฐกิจ เนื่องจากความหลากหลายนี้เอง การจัดความสมดุลจึงเป็นหัวใจของการปฏิรูปสื่อทีเดียว ภายใต้หัวข้อนี้มีข้อเสนอกว้างๆ รวม 5 ข้อด้วยกัน

(1) เอาสัญญาสัมปทานคลื่นวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงวงโคจรดาวเทียมมาทบทวนเพื่อจัดสรรใหม่ตามแนวทาง “เอาสมบัติสาธารณะคืนประชาชน” ภายใต้ภารกิจปรับแนวทางเศรษฐกิจ

(2) ทบทวนกฎหมายการสื่อสารที่ร่างขึ้นสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ให้สอดคล้องกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ภายใต้ภารกิจปฏิรูปการเมือง

(3) ปรับผังรายการวิทยุโทรทัศน์เสียใหม่ โดยลดส่วนของรายการการค้า โฆษณา บันเทิง และทดแทนด้วยรายการที่ให้การศึกษาและความรู้ เสริมสร้างจริยธรรม ตลอดจนการให้ข่าวสารและความคิดอ่านทางการเมืองแก่สังคมให้มากขึ้น

(4) จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการผลิตรายการที่มีคุณค่าทางสังคมสูง แต่มูลค่าเชิงพาณิชย์ต่ำ พร้อมทั้งผลักดันการทำ “เรตติ้ง” รายการวิทยุโทรทัศน์ ในลักษณะที่ไม่ได้มุ่งเน้นแค่จำนวนคนดูหรือมูลค่าของโฆษณา แต่เน้นประเด็นคุณค่าของรายการต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา สารคดี จริยธรรม การเมือง เพื่อช่วยในการพิจารณาเงินสนับสนุนรายการจากกองทุนดังกล่าว

(5) สร้างเคเบิลทีวีแห่งชาติ เพื่อส่งกระจายรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมถึงประชาชนและธุรกิจเคเบิลทีวีท้องถิ่นอย่างทั่วถึงโดยไม่คิดมูลค่า ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดช่องทางให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์รายย่อยสามารถมีช่องสถานีออกอากาศของตนเอง ตราบเท่าที่ไม่ผลิตรายการที่ผิดกฎหมายหรือศีลธรรมจรรยา ซึ่งจะเป็นการลดอำนาจผูกขาดทางช่องสัญญาณของสถานีโทรทัศน์หลัก (ช่อง 3-5-7-9-11 และ ITV) และจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันการผลิตรายการที่มีคุณภาพและสาระประโยชน์แก่สาธารณะ

6. เสนอแนวทางปฏิรูประบบอื่นๆ

ภารกิจชาติหัวข้อสุดท้ายนี้ต่างจาก 5 ภารกิจข้างต้นตรงที่เป็นภารกิจระยะกลางถึงยาว คงไม่สามารถทำให้สำเร็จลุล่วงในช่วงของรัฐบาลเฉพาะกาลได้ แต่การจัดให้มีการศึกษาอย่างจริงจังและจัดทำแนวทางข้อเสนอ ก็จะช่วยวางแนวทางของประเทศชาติภายหลังรัฐบาลเฉพาะกาลเสร็จภารกิจแล้ว พรรคการเมืองที่เห็นด้วยกับแนวทางก็สามารถนำเอาไปใช้เป็นวาระในการหาเสียงของพรรคตนในการเลือกตั้งที่จะถึง หรืออาจนำเอาไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศเมื่อชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลก็ได้ ระบบที่มีความสลักสำคัญที่น่าจะนำมาศึกษาและเสนอแนวทางในการปฏิรูปอย่างจริงจังมี 4 ระบบด้วยกันคือ

(1) ปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น แต่ได้ถูกละเลยอย่างมากในรัฐบาลทักษิณ ส่วนรัฐบาลประชาธิปัตย์ก่อนหน้านั้นได้ออก พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งได้สร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนว่า การศึกษาของชาติได้รับการแก้ไขเยียวยาแล้ว แต่แท้จริง พรบ. ดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องการปรับเปลี่ยนวิธีทำงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาเลย

(2) ปฏิรูปสาธารณสุข ระบบสาธารณสุขของไทยนั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่ถูกฉาบเคลือบด้วย “โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนวิธีการเงินการคลังและการเกลี่ยงบประมาณแบบใหม่เท่านั้น โครงสร้างของระบบสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานพยาบาลของรัฐยังล้าหลังและถูกละเลยมานาน

(3) ปฏิรูปราชการ ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าได้มีการปฏิรูประบบราชการโดยรัฐบาลทักษิณแล้ว แต่ในความเป็นจริงเป็นเพียงการแยกกองและรวมกองของหน่วยงานระดับกรมเสียใหม่เท่านั้นเอง ไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีสาระประโยชน์ต่อระบบราชการแต่อย่างใด นอกจากจะเอาไว้ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับปลด สับเปลี่ยน และสังหารหมู่ทางการเมืองของข้าราชการระดับสูงที่ดื้อดึง

(4) ปฏิรูปศาสนาและจริยธรรม ปัญหาด้านศาสนาและจริยธรรมนั้นแท้จริงก็คือรากเหง้าของปัญหาทั้งปวง ถ้าตรองดูจะพบว่า ประเด็นหลักของการต่อสู้ระหว่างประชาชนและรัฐบาลทักษิณเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา คือเรื่องการขาดจริยธรรมของผู้นำประเทศนั่นเอง การรณรงค์ให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองที่ “จริยธรรมนำการเมือง” ได้นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ใช้เวลาและความพยายามมหาศาลจากทุกวงการและภาคส่วนของสังคม

แม้ต้องจะมีความแตกต่างในด้านเทคนิคและเนื้อหาสาระมากมาย แต่แนวทางและกระบวน การปฏิรูปของทั้งสี่ระบบควรมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้

(1) กระบวนการต้องเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มีการเอาบุคคลจากหลากหลายพื้นเพมาร่วมแสดงความคิดเห็น ไม่จำกัดอยู่เพียงในกลุ่มของเทคโนแครตหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ในการปฏิรูปการศึกษา ไม่ควรเน้นรับฟังแต่ความเห็นของนักการศึกษา หรือไม่ควรเอาข้าราชการหรืออดีตข้าราชการมาเป็นกรรมการส่วนใหญ่ในการปฏิรูประบบราชการ เป็นต้น

(2) รัฐบาลเฉพาะกาลไม่ควรเข้าไปก้าวก่ายการทำงานของคณะกรรมการ แต่ควรให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการเงิน บุคลาการ ข้อมูล และการประสานงาน

(3) เป้าหมายและแนวทางของการปฏิรูปทุกระบบควรสอดคล้องกับแนวทางหลักหรือยุทธศาสตร์ของประเทศตามภารกิจข้ออื่นๆ ด้วย

สรุป

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น เมื่อค่ำคืนของวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 นั้น ได้มาด้วยราคาแพง เสี่ยงทั้งชีวิตของทหารหาญ สร้างความยากลำบากของประชาชนที่ได้ทำการต่อสู้กับรัฐบาลทักษิณมายาวนาน ทั้งเกิดในช่วงปีมหามงคล และเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศชาติ จนอาจถือได้ว่า “จุดเปลี่ยนประเทศไทย” หากบริหารจัดการไปในทิศทางที่ถูกต้องก็จะสร้างคุณูปการให้แก่ประเทศชาติอีกนับสิบๆ ปี

คำถามที่สำคัญที่สุดขณะนี้ก็คือ “แล้วจะทำอะไรกันต่อไป?” หนังสือเล่มน้อยนี้คือข้อเสนอของสถาบันสหสวรรษ ที่ได้รวบรวมเรียบเรียงจากความคิดเห็นของวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ในรายการเสวนาประชาชนของสถาบันตลอดเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา

ข่าวดีก็คือ งานของชาติเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งด้วยการล้มรัฐบาลทักษิณ อีกครึ่งหนึ่งคือการล้างบ้านล้างเมือง ส่วนข่าวร้ายก็คือ ครึ่งหลังยากกว่าครึ่งแรก

วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์


ดร. วุฒิพงษ์ ได้ต่อสู้ร่วมกับประชาชน เพื่อล้มระบอบทักษิณตั้งแต่เริ่มต้นและมาโดยตลอด โดยได้เคลื่อนไหวทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เช่น ขึ้นปราศัย บรรยาย ให้ความเห็น จัดเสวนาประชาชน จัดทำใบปลิว พิมพ์หนังสือ ผลิตซีดี สิ่งที่ปรากฏเด่นชัดก็คือ ดร. วุฒิพงษ์ มิได้เพียงแค่วิพากษ์วิจารณ์ระบอบทักษิณเท่านั้น แต่จะเสนอแนวทางออกสำหรับบ้านเมืองอยู่เสมอ

ด้านหน้าที่การงาน ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้อำนวยการของสถาบันสหสวรรษ ในอดีตเคยร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการผู้จัดการคนแรกของ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ระหว่างปี 2536 ถึง 2541 ก่อนหน้านั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายแผนงาน ธนาคารกรุงเทพ

ทางด้านวิชาการ เคยเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า (University of North Carolina) ผู้ช่วยศาสตราจารย์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษารัฐวิสาหกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทางด้านการศึกษา เคยสอบได้ที่หนึ่งของประเทศไทย แผนกวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2512 ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2513 และทุนร็อคกี้เฟลเลอร์ พ.ศ. 2520 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสสาชูเสตต์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ และปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago)


Tuesday, September 26, 2006

 

From a former US Ambassador to Thailand...

Tuesday, September 26, 2006
Thailand faced untenable choice
DARRYL N. JOHNSON

GUEST COLUMNIST

Tanks in the streets! Cancellation of the constitution! Dismissal of the parliament and the cabinet!

Such scenes have played out in Bangkok 18 times since the overthrow of the absolute monarchy in 1932. But the last serious coup attempt, in 1991, failed largely due to the king's intervention on behalf of demonstrating students. This time the king has not intervened. In fact, Prime Minister Thaksin Shinawatra's deteriorating relationship with the palace contributed to his overthrow -- the coup makers dedicated their action to the king.

Political tension had been growing since January, when Thaksin's family members sold their 49 percent stake in the Shin Corp., Thailand's largest telecom company, to the investment arm of the Singapore government, achieving a return of about $1.9 billion -- on which they paid virtually no taxes. The public outcry was deafening and Thaksin was forced to call snap elections on April 2 to try to regain his mandate.

But the opposition boycotted the elections, which fatally tainted the outcome. Two days later, Thaksin announced he would step down, which calmed the political storm. As a result, the most important event of the year in Thailand, the celebration of the 60th anniversary of the king's accession to the throne in June 1946, went forward with full ceremony. It demonstrated the overwhelming reverence and love that the Thai people hold for their monarch.

Soon after that, though, the political temperature began to rise again as the "caretaker" prime minister began acting as though he was mainly taking care of his own interests and suggested that he may have second thoughts about stepping down. New elections, scheduled for Oct. 15, had to be rescheduled.

More important, Thaksin made some remarks that seemed to question the king's role and the chairman of the King's Privy Council, former Prime Minister Prem Tinsulanond, publicly criticized Thaksin. This open display of tension between the palace and the government was untenable. Thus, when Thaksin was in New York for the U.N. General Assembly, the military commanders moved to overthrow Thaksin.

The first challenge for Gen. Sonthi Boonyaratkalin and his fellow plotters will be to restart the machinery of government. The new leadership clearly relishes the public support they have received so far and hope to thwart any opposition to their actions. They will face a range of lingering problems, including the continuing violence in the Muslim-majority region in the provinces bordering Malaysia (the fact that Sonthi is a Muslim could help).

The second challenge is to figure out what to do about Thaksin. They have said he can return to Thailand, but added that he could face charges for actions during his tenure in office. One possible solution would be to permit him to transfer some of his wealth out of Thailand, in return for a promise to leave and never return. Such a "Thai-style" solution has worked in the past and has avoided bloodshed.

The third challenge is how and when to restore democratic institutions. Sonthi has announced he would step aside after two weeks and turn over the reins of authority to a civilian prime minister. He pledged the conclusion of a new constitution and elections within one year.

Since 1992, Thailand has developed vibrant democratic institutions, including a feisty parliament, many active non-governmental organizations, a lively press and a varied cultural scene. The welcome accorded to the new regime will be measured, in large part, by its handling of these dynamic elements of Thai society and by fulfilling their pledge to restore democracy.

Early signs are encouraging; there has been no bloodshed and no organized opposition. The Bangkok elite clearly welcomes this move, and while some Thaksin loyalists may grumble and some may demonstrate, it is unlikely they will mount a serious challenge to the new rulers.

It is unlikely Thailand's external relations will be affected. Thailand's neighbors are more interested in stability than political process. The U.S., Thailand's formal ally and long-time friend, should urge the early restoration of democratic institutions and call for calm. The U.S. should also express regret that the new rulers resorted to unconstitutional means to overthrow an elected leader.

But we should recognize that many in Thai society--not only the military--felt they had an untenable choice. The U.S. should criticize the process, but not the results.

Darryl N. Johnson, former U.S. ambassador to Thailand, is an instructor at Jackson School at the University of Washington.

From Seattle Post-Intelligencer, Sep 26 2006, http://seattlepi.nwsource.com/opinion/286406_thailand26.html

***

I wish Dr. Rice and President Bush get to read your opinion, Mr. Ambassador. Thank you for your sensitivity, consideration, understanding, and thorough knowledge of Thailand!!

However, there are a few things in the article that I don't agree with. Here are some truths not mentioned in the article:

1. Thaksin's relationship with the king had nothing to do with his own downfall. It is his
1.1 EXTENSIVE CORRUPTION NETWORK WITHIN HIS GOVERNMENT, HIS IMMEDIATE FAMILIES, AND HIS PARTY MEMBERS;
1.2 QUESTIONABLE AND UNETHICAL BUSINESS DEALINGS that intended to benefit himself, his families and cronies;
1.3 TRANSFER OF PUBLIC ASSETS TO HIS OWNERSHIP by privatizing state enterprises, putting them in the stock market where their shares were bought up by him and his cronies;
1.4 EXTENSIVE ABUSES OF POWER in appointing cronies in important positions;
1.5 SEVERE WIDESPREAD VIOLATION OF HUMAN RIGHTS by the police;
1.6 ACTING AS IF THAILAND WERE HIS PRIVATE COMPANY; AND
1.7 CONSPIRING WITH ANOTHER FOREIGN GOVERNMENT TO CONTROL STRATEGIC BUSINESSES THAT PUT THAILAND'S NATIONAL SECURITY AT RISK (isn't this TREASON??)

that finally brought him down.

2. The King KNOWS His rights and duties. He KNOWS when He should or should not intervene. How would the whole world view Him had He endorsed the protesting parties and people against the democratically elected politicians despite their buying, cheating, and bribing methods of winning votes? He had to let the situation to take care of itself. NO ONE can expect His Majesty to be the referee every time there is a fight. He MUST remain neutral.

3. The coup team did not attribute the reason of their action only to protect the King. Rather, the extensive corruption and the pitching of people against people (a potential civil war ignition point) are their reasons from which they based their decision. The reason why there was a picture of them going in to the palace and looking like they got His blessing was because they had to inform Him.

His Majesty could do nothing except acknowledging their action. He NEVER says He endorsed this action. But we will never know what He thought. We can only speculate that His Majesty must be happy now that His people will not be killing one another because of ONE EVIL PRIME MINISTER.

4. The coup happened in part because Thaksin was preparing to appoint his cronies in the armed forces, including the police force, to control strategic positions; therefore, they would strengthen his grip on power, rendering him the virtually untouchable mafia boss who owned Thailand. The promotion list was with him when he travelled to the US.

5. Thaksin was given too many chances to correct himself or get out of politics in a nicer fashion. The reason he decided against it was because of the fear of asset seizure. Inquiries into his business empire, along with his cronies', are underway.

6. Thaksin was in the middle of a televised announcement of a state of emergency. He was about to demote Gen. Sonthi and put his own military men in power. This was hastily done, maybe a few hours after the rumor of a coup reached him in New York.

7. Foreign governments may have agreed to do business with Thaksin's telecommunications conglomerate. He may have agreed to aid them, give something to them, or made certain promises in exchange. Whether this is true or not will soon be revealed. Thaksin NEVER had the interests of the country at heart but would do anything to profit himself.

8. Many foreign governments, including the UN, had rushed to judgment and quickly blasted this necessary military takeover without seeking the truth. If a leader is good and is loved by the people, such action will not be successful.

9. Thai people who had been protesting against Thaksin for more than 8 months are NOT stupid people who were fooled into joining this crusade. We are educated and well-informed middle-class citizens whose taxes, rights, and freedom were abused and robbed by the Thaksin administration.

10. Thaksin's men systematically shut the voices of opposing media and took control of national broadcast systems and newspapers. Then they put on the air programs that kept people entertained without substances. No bad news or economic truths were allowed. Upcountry "grass-root" electorates were pampered with deceitful government programs paid for by the middle-class's taxes.

There are a lot more cases that spand all aspects of governing over which Thaksin exercised illegal and selfish power for his own and his cronies' prosperity.

Stay tuned to updates on corruption probes in the days to come.

Anyway, I am grateful for this article, Mr. Ambassador!! - The Desperate Seeker

 

To the idealists who lack true wisdom...

Jon and Giles Ungpakorn have now voiced their opposition to the CDRM. Jon is an NGO activist as well as a former Bangkok senator; Giles is a political science professor at Chulalongkorn University. The two brothers are sons of the highly respected Thammasat University Rector and Bank of Thailand Governor the late Dr. Puay Ungpakorn, the most brilliant economist who was renowned for being super-honest and devoted.

Jon has written a 2-part article outlining his disagreement with the coup while Giles organized a small public protest, with protesters wearing black, against the CDRM.

As someone who had been opposing Thaksin from the very start and as another Chula professor with a Ph.D. who lived in the US for a very long time, I believe the Ungpakorn brothers are acting rather foolishly and are trying to apply their ideals of "perfect democracy achievable only in the societies of well informed and educated populations" but are unrealistically neglecting the nature of Thailand, its people, and its culture.

Four years ago, I took a ride in a Bangkok cab whose driver was pro-Thaksin. He commented that he could see Thaksin be the prime minister well into his children's and grandchildren's generations. I snapped back by saying that the tyrant could well be the first president of Thailand if he had a way and if there were more stupid people just like the cab driver himself around. I first called Thaksin "Tyrant" over three years ago. Today my friends are still amazed at how I could come to that accurate definition long before almost all Thais realized.

During the anti-Thaksin period, I had never seen or heard from the Ungpakorn brothers that they were against the totally corrupt economic dictator and the widespread abuses of power to gain broader business and political controls by Thaksin, his families, and his cronies.

The brothers are still lost and are showing their ignorance and lack of good judgment with their current actions.

May I ask the brothers, "Are you FOR Thaksin?"

I am disappointed in both of you, Mr. Jon and Mr. Giles Ungpakorn. I am sure your father would be ashamed of you, too.


I totally agree with the these following comments (especially the first one which appeared as comments 2, 4, and 10 on 3 separate pages of manager.co.th):

(คห. 2, 4, 10) จดหมายถึง นักวิชาการสติเฟื่อง ผู้ไม่เห็นด้วยกับคณะปฏิรูป
อาจารย์จอน อาจารย์ใจ และอาจารย์และนักวิชาการหลายๆ ท่าน ที่เคลื่อนไหวครับ
ผมเห็นการออกมาโวยวายอย่างเป็นบ้าเป็นหลังกับการยึดอำนาจของ คปค. เพียงแค่ 3 วัน
ท่านทำยังกับบ้านเมืองจะสูญสิ้นประชาธิปไตยไปหมดสิ้นแล้ว

ท่านบอกว่าถอยหลังเข้าคลอง ท่านบอกว่า ฉีกรัฐธรรมนูญ สารพัด
ผมอยากถามท่านคำหนึ่งว่า ที่ผ่านมาในยุคทักษิณ 5 ปีที่ผ่านมานั้น
ท่านคิดว่า เรายังมี “รัฐธรรมนูญอยู่หรือ” ท่านมั่นใจหรือว่า “เราอยู่ในประชาธิปไตย” ที่ท่านอ้าง
เรามีสิทธิเสรีภาพจริงหรือ “สื่อมวลชน”ไม่ถูกแทรกแซงจริงหรือ
ส่วนใหญ่เป็นคนจบ ปริญญาเอก ด๊อกเตอร์กันทั้งนั้น ถ้าหากว่าท่านไม่รู้

ผมจะตะโกนกรอกหูให้ท่าน ให้มันทะลุ ถึงจิตสำนึกของท่านว่า
“รัฐธรรมนูญ ที่ท่านรักเหลือเกิน มันถูกทักษิณ ฉีกทิ้งไปนานแล้วโว้ย!!!!”
มันไม่มีรัฐธรรมนูญ มานานแล้ว มันมีแต่ ธรรมนูญของรัฐทักษิณ เท่านั้น
กฎหมายอะไรก็ใช้ไม่ได้ มีแต่แก้กฎหมายเพื่อกู เพื่อพวกพ้องของกู
โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรอิสระและตรวจสอบทุจริตของนักการเมือง

อาจารย์มีชีวิตที่มีความสุขเปรมปรีกันอยู่ที่ไหนหรือ ถึงปิดหูปิดตาไม่รู้เรื่องอะไรเลย
คุณหญิงจารุวรรณ มีปัญหาเพราะไปตรวจสอบทุจริตของทักษิณ อาจารย์รู้หรือเปล่า
อาจารย์รู้มั้ยว่า ถ้ารัฐธรรมนูญ ที่อาจารย์เทิดทูนหวงแหนนั้นมันใช้ได้
ป่านนี้ ทักษิณ ติดคุกไปนานแล้ว พรรคไทยรักไทย ถูกยุบไปนานแล้ว
ถ้าอาจารย์ไม่รู้เรื่องราวของการ “ฉีกรัฐธรรมนูญโดยทักษิณ”
อาจารย์ก็ไม่มีความชอบธรรมใดๆที่จะมาต่อต้านคณะปฏิรูป
เพราะอาจารย์ งมโข่ง ไม่รู้เรื่องราวบ้านเมืองอะไรเลย

อาจารย์ว่าเรามีสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าว เสรีภาพในการประท้วงหรือ
อาจารย์ไปนอนตีพุงอยู่ที่ไหน อาจารย์รู้ไหมว่า
ทหารใช้ปืนคุมสื่อ ห้ามการประท้วง อาจารย์รังเกียจยิ่งกว่าขี้
ทักษิณ เขาใช้ “เงิน” ครับ ถ้าเงินใช้ไม่ได้ เขาค่อยใช้ "ปืน"
จริงไม่จริง อาจารย์ก็รู้อยู่แก่ใจ
อย่างนี้อาจารย์ชอบ ใช่ไหมครับ อาจารย์ตอบหน่อยสิ

ข้อมูลทุจริต ขายชาติ ขายบ้านเมือง ต่างจังหวัดไม่รู้กันเลย เพราะ โทรทัศน์ กินกันอิ่มไปหมด
มีแต่ เสนอข่าว เจลลดไข้ เป็น สัตว์ต่างดาว สัตว์ประหลาด ทำเอาแตกตื่นกันไปหมด

แล้วที่อาจารย์ด่าคณะปฏิรูปว่า ทำประชาธิปไตยถอยหลังนั้น
อาจารย์รู้หรือไม่ว่า อาจารย์ให้ความสำคัญแค่ คำว่า “รัฐประหาร” เท่านั้น
อาจารย์เคยวิเคราะห์ด้วยบริบทอะไรหรือไม่ วิเคราะห์ด้วยเหตุผลกันบ้างหรือเปล่า

ทักษิณเป็นเผด็จการ เพียงแค่ มันได้เลือกตั้งเข้ามา มันฉีกรัฐธรรมนูญ มันมีสิทธิ์ใช่ไหม
วันนี้ ทักษิณมีทุน ทำทุจริตอะไรก็ไม่มีใครตรวจสอบได้ ขายชาติบ้านเมืองได้ มันมีสิทธิ์ใช่ไหม
สภาจะอภิปราย ออกโทรทัศน์ทั่วประเทศ มันกลัว มันก็ยุบสภา ซะ
เลือกตั้งใหม่ มันก็ใช้เงินที่โกงชาติ มาซื้อเสียง เข้ามาเป็นนายกอีก โกงชาติอีก

เป็นอาจารย์ จะทำอย่างไรครับ ถ้าอาจารย์มีวิธี อาจารย์บอกมาสิ
แต่ขอร้อง อย่ามาบอกว่า มีวิธีตอนนี้ เพราะมันคือการโกหกตอแหลแล้ว
พันธมิตรประท้วงขับไล่มาเป็นปี เพราะเหตุผลข้างต้น อาจารย์ไม่เห็นทำอะไรเลย
ผมเห็นอาจารย์ก็ทำได้แค่ ออกแถลงการณ์เชิญทักษิณลาออก
หนักหน่อย ก็เดินขบวนแค่ในมหาวิทยาลัย
ทักษิณ ท่องคำว่า “กูไม่ออก” “กูมีคนเลือกตั้งเข้ามา” อาจารย์จะทำอย่างไรครับ
ก็ต้องให้มันอยู่ ให้มันโกงกินต่อไปใช่ไหม ทางออกมีไหมครับ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย

อ้อ อาจารย์คงไม่รู้ว่า ทักษิณ ก็กำลังจะทำรัฐประหาร ตัวเองเหมือนกัน
อาจารย์เข้าใจความหมายของ การทำ “รัฐประหารตัวเอง” ไหมครับ
ท่านผบ.ทบ. ไม่ได้ตั้งใจจะทำรัฐประหารครั้งนี้เลย
แต่ต้องทำเพราะพบคำสั่งเคลื่อนกำลังพลของฝ่ายทักษิณแล้ว ต้องรีบทำตัดหน้า
เพราะ ถ้าทักษิณ ทำสำเร็จ เข้าไม่ใจดีเหมือนกับ ท่านผบ.ทบ. คนนี้ นะครับ
ออกมาพูดมากๆ อาจารย์จะเจออุ้มแบบ ทนายสมชาย นีละไพจิตร
เจอยัดข้อหา ยาเสพติด แล้ว ยิงทิ้ง หรือข้อหาล้มล้างรัฐบาล ยิงทิ้ง

อาจารย์เข้าใจดีขึ้นหรือยัง อย่ามาอ้างหลักการ เลยครับ
เพราะหลักการไม่ใช่หรือ ที่ทำให้ทักษิณ ทำลายรัฐธรรมนูญได้ขนาดนี้
แค่คำว่าเลือกตั้ง หรือ หลักการเลือกตั้ง เท่านั้น ใช่ไหมอาจารย์
รัฐประหารครั้งนี้ ไม่ใช่การถอยหลัง
แต่มันคือการหยุดการฉีกรัฐธรรมนูญโดยทักษิณ เราทบทวนกันก่อน แล้วค่อยเดินต่อ
ดีกว่าเดิน เข้ารกเข้าพงมากกว่านี้ ด้วยรถชื่อ “ธรรมนูญ รัฐทักษิณ” มันไม่มีทิศทางแล้ว

ต้องให้เวลาเขาบ้าง ไม่ใช่ แค่ 3 วัน ออกมาโวย ออกมาประท้วง
รีบคืนอำนาจ จะบ้าหรือเปล่า
ยังกับเขาสั่งห้ามกิน ห้ามขี้ห้ามเยี่ยว ขนาดนั้น จะตายกันให้ได้
แค่ห้ามชุมนุม อาจารย์ก็ต้องชุมนุมให้ได้
ท่าน ผบ.ทบ. ก็เป็นคน มีเกียรติ อาจารย์ต้องให้เกียรติกันบ้าง
เราต้องถือว่า เขาเข้ามาช่วยบ้านเมืองก่อน

ถ้าเขาจะสืบทอดอำนาจ เขาทำทุจริต
เวลาจะพิสูจน์เอง 6 เดือนก็ไม่สายเกินไป
ทักษิณ โกงบ้าน โกงเมือง อุ้มฆ่า ขายชาติ
แทรกแซงองค์กรอิสระ ขู่ ทำร้ายคนต่อต้านอย่างรุนแรง
รัฐธรรมนูญถูกฉีกทิ้งมานาน 5 ปี แล้ว

อาจารย์ยังปล่อยให้มันทำได้เลย ใช่มั้ยครับ

(อนุญาตให้เผยแพร่ได้ครับ)

"เหลี่ยมกลับมาแน่ ถ้ามีคนแบบ อ.ใจ และลูกศิษย์มาก ๆ"
จ.ม. เปิดผนึก ถึง อ.ใจ

อาจารย์ครับ อุดมการณ์ในตำราฝรั่งมันไม่เคยทำให้บ้านเมืองเราเจริญได้หรอกครับ ฝรั่งไม่เข้าใจวัฒนธรรมการเมืองแบบเอเซียหรอก ผมเห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 2 ที่บอกว่า ทักษิณได้ฉีกรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ไม่ฉีกอย่างเดียวครับ มันเหยียบอยู่ใต้อุ้งตีนด้วย พลเอกสนธิ เข้ามาหยุดการเหยียบย่ำรัฐธรรมนูญ และกำลังจะมีการร่างใหม่ อดทนสักนิดเถิดครับ โปรดให้โอกาสประเทศไทย
ครูสงขลา

ขอรบกวนไปบอกคนที่ชื่อใจ นามสกุลอึ้งภากรณ์สักนิดนะครับว่า ให้กลับไปถามตัวเองเถิดว่ากำลังทำอะไร หรือคุณไม่รู้จริงๆ ว่าระบอบทักษิณทำอะไรกับชาติบ้านเมือง ถ้าเป็นเช่นนั้น เขาก็เป็นแค่คนที่บังเอิญเกิดมาบนแผ่นดินไทย เกิดมานามสกุลอึ้งภากรณ์แค่นั้น โปรดถอยกลับไปคิดถึงเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา แล้วตอบตัวเองดูซิว่าทางออกของบ้านเมืองอยู่ตรงไหน ใครอยู่เหนือกฎหมาย ใครครอบงำองค์กรณ์อิสระ ใครทำให้เกิดความแตกแยก หรือว่านี่เป็นการสร้างผลงานเพื่อเงินสนับสนุนกลุ่ม NGO????
สำหรับเรื่องคืนอำนาจแก่ประชาชน ขอถามว่าหากเหตุการณ์ยังไม่ชัดเจนและไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้จะรียคืนเพื่ออะไร ทำไมไม่ถามความเห็นของคนไทยทั้งประเทศล่ะว่าต้องการอย่างไร ทำไมพวกนักคิดนักเขียนชอบเอาความคิดของตัวเองเป็นตัวตัดสินทุกที ผมในฐานะคนไทยอยากให้คณะทำงานต่างๆ ไม่ว่า สตง. ปปช. ได้ทำงานอย่างเต็มที่ และรอบคอบเสียก่อน ได้โปรดเถอะครับ อย่ากดดันกันเลยพวกที่ได้ชื่อว่าอาจารย์ทั้งหลายอย่าปลุกกระแสเลย อย่าอ้างคำว่าประเทศจะถอยหลัง เพราะประเทศไม่เคยถอยหลัง หากแต่คนต่างหากที่ศีลธรรม จริยธรรมถดถอย หากสิ่งที่ผมเขียนนี้ใครได้อ่าน โปรดรับรู้ด้วยว่า ผมก็มีความรักชาติไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าท่านผู้ที่ได้ชื่อว่าอาจารย์ทั้งหลาย และอย่างน้อยผมก็ออกมาเรียกร้องหาความถูกต้องโดยมิได้หวังชื่อเสียง ...ขอเพียงได้ทำหน้าที่ของคนไทยคนหนึ่งที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินอันเป็นที่รัก ...
คนโคราชในกทม.

ทุกครั้งที่บ้านเมืองมีปัญหาอันเนื่องมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กระทำการประหนึ่งกิ่งก่าได้ทอง หรือ คางคกขึ้นวอ บ้านเมืองเราควรจะวิ่งโลด ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและภูมิศาสตร์ของเราได้เปรียบกว่าทุกๆชาติ
แต่ รัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ทำเละเทะทุกที แปลก! ลองย้อนดูนักการเมืองที่ได้เสนอตัวเข้ามาแต่ละคนซิ เหมือนเด็กเล่นขายหม้อข้าวหม้อแกง
แต่ก็แปลกอีกเช่นกัน รัฐบาลหลังการรัฐประหารหรือหลังวิกฤต ที่มาจากการแต่งตั้ง กลับมีประสิทธิภาพกว่า มีความละอายกว่า! รัฐบาล อาจารย์สัญญา รัฐบาลคุณอานันท์ (มีปัญหาชุดเดียวคือ รัฐบาลหอย ที่มีจมูกชมพู่ร่วมด้วย)
แต่รัฐบาลจากการเลือกตั้ง เป็นการบริหารที่มั่วที่สุด และเสียเปรียบต่างชาติที่สุด จึงไม่แปลกใจที่ต่างชาติผู้กระหาย (ปีศาจในคราบนักบุญ) จึงอยากให้ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง???
"ตีงู ให้กากิน" คปค. ต้องพิจารณาให้ดีกับคำพังเพยนี้ และต้องหนักแน่นกับ นักประชาธิปไตยแบบ หมาแสนรู้!! ที่ออกมาพูดๆๆ ราวกับว่าประชาธิปไตย เป็นยาหม้อใหญ่รักษาได้ทุกโรค แค่ "โรคระบอบทักษิณ" พวกนักประชาธิปไตยแบบหมาแสนรู้ ทำอะไรได้บ้าง ลองนึกถึงพวกหมาแสนรู้ที่ออกมาเรียกร้องขณะนี้ แล้วย้อนไปดูยุคประชาธิปไตยที่ทักษิณครองเมืองซิ พวกหมาแสนรู้เหล่านั้น ทำอะไรได้ และทำอะไรบ้าง????
คุณจอนเสียงแหบนี่ก็คนหนึ่งล่ะ ที่ช่วงนี้ทำตัวเป็นหมาแสนรู้ ทางทีวีเนชั่นไม่กี่วันนี้เอง
ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว แล้วทักษิณก็รุกคืบเข้ายึดครอง
สิบเก้าเดือนเก้า

ผมในฐานะประชาชนที่ออกไปชุมนุมเกือบทุกครั้งช่วง 1 ปีทีผ่านมา เหน็ดเหนื่อย แต่ไม่เป็นไร เพราะผมเห็นคนที่เหน็ดเหนื่อยกว่าผมอีกเยอะในที่ตรงนั้น
อยากถาม คนที่อ้างหลักประชาธิปไตย แล้วมาแสดงความไม่เห็นด้วย มาไว้อาลัย คณะปฎิรูป หรือแม้กระทั่งออกมาประท้วง
พวกคุณเคยมั๊ยที่จะไปประท้วงรัฐบาลประชาธิไตยแบบทักษิณ
ผมขอไว้อาลัยพวกคุณแทนละกัน
เลิกเรียนเถอะ ถ้าเรียนโทแล้วยังเข้าใจประชาธิปไตยได้แค่ในตำรา
ขอให้ไปดูตัวเองก่อนว่าเคยสนใจบริบทของสังคมไทยหรือเปล่า
ไปหาดูเทปที่อาจารย์เจิมศักดิ์ คุยกับท่าน พุทธทาส ด้วยนะครับ ว่าท่านพูดถึง วิถีทางของคำว่า ประชาธิปไตยไว้ว่าอย่างไร
ผมกล้าบอกล่วงหน้าไว้เลยว่า พวกท่านไม่ใช่คนกล้าที่จะทำอะไรจริง ได้แต่เป็นเสียงนก เสียงกา ที่เอะอะโวยวายโดยไม่ลืมหูลืมตา
แล้วก็ขอให้อ่าน คหที่ 10 สักร้อยรอบด้วย เผื่อจะเข้าใจอะไรของเมืองไทยได้บ้าง
ไม่ได้เรียนรัฐศาสตร์เหมือนคุณ

คห. 10 พูดได้แทนใจทุกอย่าง... ประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงการเลือกตั้งเท่านั้น (หลังจากนั้นก็โกงกินสะบั้นหั่นแหลก) ในขณะเดียวกันการทำรัฐประหารก็ไม่ได้หมายความว่า คนทำจะทำเพื่อตัวเองและพวกพ้วงเท่านั้น
เปิดใจให้กว้างไว้ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความตั้งใจจริง (เหมือนกับที่มันพิสูจน์นายเหลี่ยมมาแล้วนั่นแหละ)
รักจัง

เห็นด้วยกับ คห. 4 และขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. ถ้าทักษิณยังเป็นนายกฯอยู่ถึงปัจจุบัน คุณจอนมั่นใจได้อย่างไรว่า จะไม่เกิดการนองเลือดขึ้นระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับกลุ่มระบอบทักษิณ
2. ถ้าเป็นจริง (90%) ตาม 1. คุณจอนจะแก้ไขอย่างไร
3. คปค. เข้ามาโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ไม่ดีกว่าหรือ เพราะรัฐธรรมนูญถูกทักษิณฉีกทิ้งไปนานแล้วจริงๆ
ผ่านมา

ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจเหมือนกัน เพราะดูเหมือนเราไม่รู้จักโตเสียที พอจะล้มลุกคลุกคลานบ้างตามประสาเด็กหัดเดิน (แต่เราก็หัดเดินมานานมากแล้ว) ก็ถูกอุ้มเข้าเอวผู้ปกครองทุกครั้ง แต่ครั้งนี้มันเป็นอะไรที่ไม่เคยมีมาก่อน คือเราจะทำอย่างไรกับคนหน้าด้านดี อาจารย์จอนมีทางออกที่ดีกว่านี้ใหม เพราะเด็กคนนี้กำลังเดินทางไปหาจุดที่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ไม่ใช่หกล้มธรรมดาเหมือนที่เคยเป็นมา เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็อยากให้มันคลี่คลายไปตามครรลองที่มันควรจะเป็น และพยายามกันมาเป็นปีแล้ว สำหรับผม เห็นว่าประชาธิปไตยมันตายไปตั้งแต่ทักษิณเข้ามาเป็นนายกแล้ว มันเป็นประชาธิปไตยตามทฤษฎีเท่านั้น
can't get any worse

อาจารย์เพี้ยนไปแล้ว และเลิกนับถือ อาจารย์ ไม่เหมาะสมเป็นอาจารย์เลย เป็นคนมีความรู้แท้ ๆ แต่กลับบิดเบือนความจริง อาจารย์ ลาออกเถอะ และอยู่บ้านรักษาตัวดีกว่า เหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่าแต่ละคนคิดอย่างไร และควรนับถือใคร เข้าใจ และซึ้งจริงๆ หมดกันอาจารย์ ....... (ขอสนับสนุนความคิดเห็นที่ 4 ครับ เยี่ยม)
คนไทยคนหนึ่งที่มองสังคมอยู่ และจะอยู่ดูว่าใครคิดแบบไหน และควรสนับสนุน คนแบบไหน
คนไท

คห.4 ว่าไว้ถูกต้อง
การเมืองคือการต่อสู้ ไม่ใช่การเล่น
ตอนนี้พวกไร้เดียงสาทำทีออกมาป่าวร้องเสื้อคลุมประชาธิปไตยสดๆซิงๆ แกล้งไม่รู้ว่าของที่ว่านั้น ทักษิณและพวกมันข่มขืนแต่แรกมาแล้ว กว่า 5 ปีคนไทยถูกย่ำยีจนไม่มีชิ้นดี ออกลูกออกหลานมาเป็นปัญหาสารพัดชั่ว ไม่เห็นหรือที่ คปค.อ้างเหตุผลทำการครั้งนี้ยังน้อยไปด้วยซ้ำ
สำคัญคือ ไม่มีความดีงามในใจคนไทยทุกวันนี้อย่างสัตย์ซื่อถือมั่นเลย มีแต่เสแสร้งว่าไปตามสถานการณ์ เพราะหลักการถูกทักษิณและพวกบิดเบือนจนไม่เหลือริ้วรอย ให้คนรุ่นหลังอ่อนเยาว์ด้อยประสบการณ์ได้รับรู้เรียนรู้อย่างถูกต้อง ความเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ บูชาคน/สิ่ง/ความคิดที่ไม่ถูกต้อง ระบาดในทุกวงการ ยังดีที่ในหลวงมีกระแสความพอเพียงมาจุดประกายยับยั้งให้สติคนได้คิด มีปัญญาและมีศีลกัน
ทหารไม่มาตอนนี้ ไม่จัดการบ้านเมืองตอนนี้ กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว ทรราชย์อย่างทักษิณและพวกทรท. ซึ่งเหิมเกริมนับวันยิ่งโอหังบังอาจไม่กลัวอะไร เหมือนมารร้ายที่อะไรก็ปราบไม่ได้ เราไม่มีเวลาไม่มีฤทธาอันใดจะไปต่อกรโค่นล้มมันได้แล้ว เพราะไม้ตายสุดท้ายของทักษิณและพวก เตรียมใช้คือความรุนแรงที่จะใช้พวกจัดตั้งออกมาชนประชาชนที่คัดค้าน มันจะยิ่งกว่า 6 ตุลา 2519 อ้ายหมัก ปากหมา จืด ดุสิต ลองได้ออกอาการทางสื่อมวลชนที่มันจัดตั้งมา ก่อกระแสบิดเบือนใส่ร้ายป้ายสีประชาชนด้วยแล้ว .........พวกคนตุลาคมที่มีจิตสำนึกรักชาติประชาธิปไตยแท้จริงรู้ดีครับ ว่าอะไรจะเกิดขึ้น 6 ตุลาก็สามานย์สุดๆ แล้ว คิดหรือว่า ครั้งนี้จะไม่เลวทรามต่ำช้าโหดร้ายมากมายยิ่งกว่าอีก......
ทหารคิด/ทำการได้บรรลุแล้ว พวกที่ออกมายืนยันแนวคิดบริสุทธิ์แต่เพ้อฝัน ไม่มองความจริงที่ดำรงอยู่ว่าท่านกำลังต่อสู้กับใคร ไม่แยกมิตรศัตรู กลายเป็นเครื่องมือฟื้นอำนาจทรราชย์ทักษิณและพวกไป ....อย่างนี้ ประชาชนที่รักชาติประชาธิปไตยแท้จริงรับไม่ได้หรอก ไม่มีใครสนับสนุนแน่นอน นศ.ธรรมศาสตร์ที่ออกมาคัดค้านเพราะมีใครหนุนอย่างไรก็ตาม ต้องรู้จักเรียนรู้การเมืองและสถานการณ์การเมืองเวลานี้ให้ดี ก่อนหน้านี้ นศ.มธ.และที่อื่นๆ ก็ถูกมองว่ามีจิตสำนึกทางการเมืองช้าไป ไม่เหมือนก่อน 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา ซึ่ง นศ ยุคนั้น เร่าร้อน เป็นกองหน้ากล้าตายของประชาชนทีเดียว แต่ทุกวันนี้ กลายเป็นตัวอะไร ต้องเอาไปคิดให้ดี ยิ่งออกมาเคลื่อนไหวแบบไร้เดียงสา ชูประชาธิปไตยที่จับต้องไม่ได้ กลายเป็นเข้าทางทรราชย์ทักษิณและพวก คัดค้านการต่อสู้ของประชาชนที่สนับสนุน คปค. ให้มาแก้ปัญหาบ้านเมืองให้คืนสภาพดีดังเดิมโดยเร็ว ......เรียนรู้ต่อสู้ทางการเมือง ต้องสนใจการเมืองให้มากๆ วิจารณ์เรื่องใด ก็ต้องสนใจเรียนรู้เรื่องนั้นๆให้มากๆ ...........อย่าหลงอัตตา ต้องอ่อนน้อมต่อการต่อสู้ของประชาชนที่ผ่านมา ว่าสาหัสสากรรจ์อย่างไร ทักษิณและพวกชั่วช้าสามานย์มี/ใช้เล่ห์เพทุบายซับซ้อนซ่อนเงื่อนอย่างไร
วันนี้ ระบอบทักษิณล่มสลายแล้ว นี่คือความจริงที่ดำรงอยู่ นศ. และประชาชนทั้งหลายต้องช่วย คปค. จัดการบ้านเมืองให้คืนสภาพที่มีประชาธิปไตยแท้จริงต่อไปโดยเร็ว ต่อต้านการฟื้นระบอบทักษิณอย่างเอาเป็นเอาตาย
นี่คือภาระหน้าที่ต้องช่วยกันมิใช่หรือ ท่านเป็นพลังก้าวหน้าหรือจะเป็นพลังล้าหลัง ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ..... นศ. นักวิชาการและหลายๆ นักทั้งหลาย..
.
=====
There was another post on September 28 2006:

ถึง นักศึกษาและอาจารย์ ม.จุฬาและม.ธรรมศาสตร์ที่ออกมาคัดค้าน คปค.
เหตุผลที่พวกท่านออกมาคัดค้าน ที่บอกว่า การปฎิวัติมันไม่ใช่หนทางของประชาธิปไตย และมันทำให้สร้างเป็นการค่านิยมในการใช้กำลังในการแก้ปัญหา และยังมีวิธีอื่นที่จะดำเนินการแก้ปัญหา
มันไม่ผิดหรอกครับ มันถูกต้องอย่างบริสุทธิ์ตามหลักสามัญสำนึกที่พวกท่านมีอยู่ และแสดงความเห็นออกมา ผมรู้ว่าพวกท่านก็ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลแน่นอน แต่ผมอยากจะขอถามพวกนักประชาธิปไตยบริสุทธิ์ทั้งหลายว่า ที่ผ่านมาพวกท่านทำอะไรอยู่
ถ้าพวกท่านเห็นว่ามันมีทางอื่นที่จะทำให้รัฐบาลที่แล้วออกไป ท่านได้ทำมันรึเปล่า เราต่อสู้กันมาเป็นปี เราเรียกร้องให้คนออกมากดดันมากๆ แล้วพวกท่านล่ะไปไหน ไปเดินห้าง ไปเที่ยว หรืออ้างว่าทำงานอย่างนั้นหรือ พวกเราอดทน พวกเราเสี่ยง ลางาน โดดเรียน(ซึ่งการเรียนเราก็ไม่ตก) เราต้องนอนกลางถนน ตากแดด แต่พวกท่านที่บอกว่า ขออารยะขัดขืนกับ คปค. และไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาแบบนี้ พวกท่านจะไม่เห็นเห็นแก่ตัวเกินไปหรือ ผมว่าหยุดเสียที่เถอะ ท่านชอบพูดแต่ปากว่ามันไม่ถูก แล้วจริงๆก็ไม่เคยทำอะไรเลย มันง่ายที่จะตั้งคำถามด้วยปาก แล้วไหนพวกท่านตอบทีสิว่า จะทำยังไง ลองตอบคำถามของท่านเองดู
ไม่ต้องมาถามกับคนอื่นหรอก แล้วถ้าท่านมีคำตอบ ทำไมไม่ผลักดัน และต่อสู้ตั้งแต่แรก ถ้าเราร่วมแรงกันมากกว่านี้ ก็คงไม่ต้องใช้ทหารหรอก อย่าลืมท่านเองก็มีส่วนที่ทำให้การยึดอำนาจเกิดขึ้น
พวกท่านไม่ได้ร่วมต่อสู้แบบเป็นพันธมิตร พวกท่านไม่มีทางรู้หรอก ว่ามันยากแค่ไหน การชุมนุมครั้งแรก องค์การนักศึกษา ทั้ง จุฬาและมธ.ประกาศว่าอาจไม่เข้าร่วม แล้วแต่ใครจะไปส่วนตัวก็ได้ ผมผิดหวังตั้งแต่ครั้งนั้นแล้ว แล้วตอนนี้คุณมีสิทธิอะไรที่บอกว่ามีทางอื่นอยู่อีก
นี่แสดงว่าจะให้พวกเราต่อสู้อย่างเดียวเลยหรือ ไม่ละอายบ้างเลยหรือ แล้ววันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมาคิดจะไปบ้างมั้ย ส่วนตัวผมก็เห็นว่ามันเป็นเป็นวิธีที่ไม่ถูก แต่ผมก็รับมันได้ และดีใจด้วยซ้ำไป ที่เราไม่ต้องมีการนองเลือดเพราะเค้าเตรียมคนมาปั่นป่วน มาทำร้าย พวกคุณที่ออกมาคัดค้าน คปค. พวกคุณไม่ได้ไปชุมนุม ไม่ได้เสี่ยงชีวิต และกลัวเหนื่อยยังกลัวตาย มีความชอบธรรมแล้วหรือที่ออกมาคัดค้านตอนนี้ พวกเรามีครอบครัว มีคนต้องดูแล มีความหวัง และหวังว่าเราไม่เสียเลือด กับความรู้สึกโล่งอกที่ไม่ต้องตาย พวกคุณเคยรู้สึกแบบนี้มั้ย แล้วถ้า คปค.ไม่ออกมาวันนั้นก็ไม่รู้ว่าจะมีเหตุร้ายมากแค่ไหน
ผมถามจริงๆ เถอะ อะไรที่สำคัญที่สุดระหว่างชีวิตคน กับสิ่งที่ท่านบอกว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าตัวท่านเองออกไปชุมนุม ท่านจะรู้ ท่านจะออกมาประณามคปค.มั้ย...ก็ไม่ ถ้าประชาชนไม่ต้องเสียเลือด มันไม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือ แล้วรัฐบาลเองก็เตรียมคนออกมาทำร้ายทำลายประชาชนด้วยซ้ำ แล้วก็มีมาแล้วหลายครั้ง
เค้าเองก็ขัดหลักการประชาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งที่สวนลุม ที่อุดร ที่เซ็นทรัลเวิล แล้วพวกท่านได้ออกมาประนามสิ่งที่ไม่ถูกอย่างเต็มที่รึเปล่า นี่ก็เผด็จการเหมือนกัน ทำไมไม่ออกมาสู้ให้เต็มที่ล่ะนักวิชาการ มธ. จุฬา ที่เอาแต่แถลงการณ์ด้วยปากอยู่นั่นแหละ แล้วก็ชุมนุมอยู่แต่ในเขตรั้ว ท่านกลัวเหรอ
ถ้าเค้าไม่เตรียมคนออกทำมาร้าย และไม่มีพฤติกรรมยั่วยุให้ประเทศแตกแยก นั่นแหละที่เรียกว่าไม่สมควรยึดอำนาจ
Jo


Monday, September 25, 2006

 

The Necessity for the Sep 19 Coup

Sonthi outsmarted Thaksin at the eleventh hour
Thanong Khanthong
The Nation

Had Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (CDRM) leader General Sonthi Boonyaratglin not moved as fast as he did to stage a coup on Tuesday, Thaksin Shinawatra would have launched his own coup a day later. Don't be fooled by Thaksin's claim that he stands for democracy.

As the political crisis developed to the point of no return concerning whether Thaksin should stay or be booted out, General Sonthi had no choice but to swallow his words about the days of military coups being over. He had been very reluctant to resort to a coup, as he was known not to have any political ambitions. Moreover, he was not known to be an enemy of Thaksin. Although General Sonthi has a good relationship with both Privy Council President General Prem Tinsulanonda and Privy Council member General Surayuth Chulanont, he came to power partly due to a political compromise struck with Thaksin.

However, an intelligence report reached General Sonthi's camp stating that there would be bloodshed on Wednesday. The People's Alliance for Democracy had planned to hold a political rally that day at the Royal Plaza in order to force Thaksin out of politics. Had that rally taken place, there would have been clashes between the People's Alliance for Democracy and Thaksin's supporters and blood would have been spilt on Rajdamnoen Avenue. If only Thaksin had promised that he would take a break from politics and allow a period of political reforms to take place, the PAD and other branches of the anti-Thaksin movement would have declared victory. All political confrontations would have subsided. Thaksin could have run for office once the Constitution was amended, and he would have been returned to the premier's post, probably in the latter part of next year.

However, Thaksin never considered taking a break from power. Again, don't be fooled by his "taking a break" story - the idea never crossed his mind.

The General Sonthi camp learned that during the PAD rally, Yongyuth Tiyapairat and Newin Chidchob were planning to rally their supporters to create an ugly scene at the Royal Plaza. During the ensuing commotion, there would be human casualties. Thaksin would then have stepped in and declared a state of emergency, placing the country under martial law.

Now you can understand why he had time to prepare his state of emergency statement and read it at 9.20pm on Channel 9 from his New York hotel room. You can also understand why Yongyuth and Newin are now at the top of this country's most-wanted list and have surrendered themselves to the CDRM for interrogation.

Once the situation was under his complete control, Thaksin had planned to fly back yesterday in order to declare victory over anti-democratic elements in society. He had a military reshuffle list in hand that would have further consolidated his control over the military. With that accomplished, everything would have been easy. Virtually all institutions in the country would have been under his directive.

From his New York hotel, Thaksin was preparing to deliver an address at the UN Assembly. The room instead turned out to be the headquarters from which he attempted to launch a counter-coup and negotiate a political settlement. In New York, he planned to recruit top-notch American political consultants to advise him on his political campaign for the next election, which would have been pushed back from October 15 to some time in November.

Thaksin's talk of taking a break from politics was simply lip service. He told the Thai public he would decide whether to take a break from politics only after his Thai Rak Thai went to the Election Commission to register as candidates. This means Thaksin would have liked His Majesty the King to endorse a new election date before he made his decision.

Members of the Thai elite and the PAD, however, would not allow this to happen. If Thaksin were to run in the next election, he would have won. With 12 million votes or so, he would have claimed a democratic majority and he also would have stayed on as prime minister. After that he could rewrite Thai history by turning Thailand into his own regime.

General Sonthi had to act fast to head off Thaksin's coup. He staged a military coup on Tuesday, a day before the bloodshed was set to take place. He and Thaksin did have a telephone conversation on Tuesday evening, with Thaksin trying to buy time and negotiate a settlement.

He told General Sonthi that if he kept his cool, Thaksin would take a break from politics. He asked Sonthi to wait until he returned from New York so that the two could talk things out and said that he would reschedule his return flight to Bangkok to Wednesday, instead of yesterday as he had planned.

General Sonthi was polite, but told him that he had no choice, that he had to stage the coup.

In the meantime, Thaksin was checking on his military allies, who had control of Bangkok, for the most part. He remained certain that in a military power play, he could still emerge the victor. Maj-General Prin Suwannathat, commander of the First Infantry Brigade, is a close ally of Thaksin and he holds the most powerful military post in Bangkok. The commanders of the Air Force and the Navy are also good friends of Thaksin.

General Sonthi had the support of Lt-General Saphrang Kalayanamit of the Third Army, who had been outspoken in his anti-Thaksin remarks. The Third Army is in charge of all military operations in the North. Another key ally of Gen Sonthi is Lt-General Anupong Phaochinda of the First Infantry Division in Bangkok. Maj-General Sanit Prommas, the commander of the Second Cavalry Brigade, also came to play an important role in the power play to seize the capital.

Troops from Prachin Buri and Lop Buri were also mobilised to the capital to assist in the coup, the decisive outcome of which was ironically the victory of thaharn ban nok (upcountry military).

As it turned out, all of Thaksin's military allies, most notably Maj-General Prin, had been marked out - they could not move. General Ruengroj Mahasaranont, the supreme commander and a Thaksin ally, was to look after Bangkok once Thaksin had declared martial law. He too was subdued. Chidchai Vanasatidya and Prommin Lertsuridej were unable to launch any sort of counter effort.

Thaksin's wife Khunying Pojaman Shinawatra was supposed to take a 12am flight to Singapore on Tuesday night. She quickly changed her flight to 9pm. Well, Gen Sonthi had to let her off the hook.

Twenty-five minutes later, knowing that his wife was safely on an aircraft bound for Singapore, Thaksin read out his state of emergency address from his New York hotel room, effectively sacking General Sonthi.

But an hour later, General Sonthi declared a counter-coup to overthrow the Thaksin regime and tear up the Constitution.

The rest is history.


Archives

July 2006   August 2006   September 2006  

This page is powered by Blogger. Isn't yours?